อำนาจและหน้าที่ในการบริหาร
มาตรา 66 องค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม
มาตรา 67 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
1. จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
2. รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
3. ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
4. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
5. ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
6. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
7. คุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
8. บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมท้องถิ่น
9. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร
มาตรา 68 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบลอาจจัดทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
1. ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
2. ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
3. ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
4. ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
5. ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์
6. ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
7. บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
8. ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
9. หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล
10. ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
11. กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
12. การท่องเที่ยว
13. การผังเมือง
สำนักงานปลัด
สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับเอกสาร สารการจัดทำแผนพัฒนาสามปี การจัดทำร่างข้อบัญญัติ การจัดทำทะเบียนสมาชิกสภา อบต. และคณะผู้บริหาร การดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การให้คำปรึกษาหน้าที่และความรับผิดชอบการปกครองบังคับบัญชาพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้าง การบริหารงานบุคคลของ อบต. ทั้งหมด การดำเนินการเกี่ยวกับการอนุญาตต่างๆ และการปฏิบัติงานด้านสวัสดิการสังคม เกี่ยวกับการสังคมเคราะห์ การส่งเสริมการเกษตร การอนุรักษ์แหล่งน้ำ และป่าไม้ การให้คำปรึกษาแนะนำและตรวจสอบเกี่ยวกับงานสวัสดิการสังคม และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย แบ่งส่วนราชการภายใน ออกเป็น 5 งาน คือ
งานบริหารทั่วไป มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานสารบรรณ
- งานอำนวยการและข้อมูลข่าวสาร
- งานบริหารงานบุคคล
- งานเลือกตั้ง
- งานตรวจสอบภายใน
- งานระเบียบข้อบังคับการประชุม
- งานการประชุม
- งานอำนวยการและประสานราชการ
- งานติดตามผลการปฏิบัติ
- งานตามมติสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
- งานเลือกตั้ง
- งานข้อมูลการเลือกตั้ง
- งานชุมชนสัมพันธ์
- งานรักษาความสงบเรียบร้อย
- งานสนับสนุนและบริการ
- งานอำนวยการ
- งานป้องกัน
- งานช่วยเหลือฟื้นฟู
- งานกู้ภัย
งานนโยบายและแผน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานนโยบายและแผนพัฒนา
- งานวิชาการ
- งานข้อมูลและการประชาสัมพันธ์
- งานสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์
- งานงบประมาณ
งานกฎหมายและคดี มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานกฎหมายและนิติกรรม
- งานการดำเนินทางคดีและศาลปกครอง
- งานร้องเรียนร้องทุกข์และอุทธรณ์
- งานระเบียบการคลัง
- งานข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล
งานสวัสดิการและพัฒนาชุมชน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานสวัสดิการสังคม
- งานพัฒนาชุมชน
- งานจัดระเบียบชุมชน
- งานสังคมสงเคราะห์
- งานพิทักษ์สิทธิเด็กและสตรี
งานการเกษตร มีหน้าที่รับผิดชอบ
- งานส่งเสริมการเกษตร
- งานอนุรักษ์แหล่งน้ำและป่าไม้
กองคลัง
กองคลัง มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีและทะเบียนรับ – จ่ายเงินงบประเภท งานเกี่ยวกับการเงิน การเบิกจ่ายเงินการ เก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน การตรวจเงิน อบต. รวบรวมสถิติ เงินได้ประเภทต่างๆ การเบิกตัดปี การขยายเวลาเบิก จ่ายงบประมาณ การหักภาษี และนำส่ง รายการเงินคงเหลือประจำ การรับและจ่ายขาดเงินสะสมของ อบต. การยืมเงินทดรองราชการ การจัดหาผลประโยชน์จากสิ่งก่อสร้างและทรัพย์สิน ตรวจสอบงานของจังหวัด และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน การเร่งรัดใบสำคัญและใบเงินยืมค้างชำระ การจัดเก็บภาษี การประเมินภาษี การเร่งรัดจัดเก็บรายได้ การพัฒนารายได้ การออกใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมต่างๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย แบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 4 งาน คือ
งานการเงิน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานรับเงิน
- เบิกจ่ายเงิน
- งานจัดทำฎีกาเบิกจ่ายเงิน
- งานเก็บรักษาเงิน
งานบัญชี มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานการบัญชี
- งานทะเบียนคุมการเบิกจ่าย
- งานงบการเงินและงบทดลอง
- งานงบแสดงฐานะทางการเงิน
งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานภาษีอากร ค่าธรรมเนียมและค่าเช่า
- งานพัฒนารายได้
- งานควบคุมกิจการค้าและค่าปรับ
- งานทะเบียนเบิกควบคุมและเร่งรัดรายได้
งานทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานทะเบียนทรัพย์สินและแผนที่ภาษี
- งานพัสดุ
- งานทะเบียนเบิกจ่ายวัสดุครุภัณฑ์และยานพาหนะ
กองช่าง
กองช่าง มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการสำรวจออกแบบและจัดทำโครงการใช้จ่ายเงินของ อบต. การอนุมัติเพื่อดำเนินการตามโครงการที่ตั้งจ่ายจากเงินรายได้ของ อบต. งานบำรุงรักษา ซ่อมแซม และจัดทำทะเบียนสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในความรับผิดชอบของ อบต. การให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำโครงการและการออกแบบก่อสร้างแก่ อบต. และหน่วงงานอื่นที่เกี่ยงข้อง งานควบคุมอาคาร การดูแลควบคุมปรึกษาซ่อมแซมวัสดุครุภัณฑ์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องและงานที่ได้รับมอบหมาย แบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 4 งาน คือ
งานก่อสร้าง มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานก่อสร้างและบูรณะถนน
- งานก่อสร้างและบูรณะสภาพและโครงการพิเศษ
- งานระบบข้อมูลและแผนที่เส้นทางคมนาคม
- งานบำรุงรักษาเครื่องจักรและยานพาหนะ
งานออกแบบและควบคุมอาคาร มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานสถาปัตยกรรมและมัณฑศิลป์
- งานวิศวกรรม
- งานประเมินราคา
- งานควบคุมการก่อสร้างอาคาร ฝ่ายบริการข้อมูลและหลักเกณฑ์
- งานออกแบบ
งานประสานและสาธารณูปโภค มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานประสานและสาธารณูปโภคและไฟฟ้าส่องสว่างสาธารณะ
- งานขนส่งและวิศวกรรมจราจร
- งานระบายน้ำ
- งานจัดตกแต่งสถานที่
งานผังเมือง มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานสำรวจและแผนที่
- งานวางผังพัฒนาเมือง
ประชาสัมพันธ์ ภารกิจ ซ่อมแซมไฟฟ้าสาธารณะ
ภารกิจการซ่อมบำรุงไฟฟ้าสาธารณะ ภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพังงู
การให้บริการไฟฟ้าสาธารณะแก่ประชาชนนั้น ถือเป็นภารกิจ หน้าที่สำคัญประการหนึ่งขององค์การบริหารส่วนตำบลพังงู อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ซึ่งจะต้องดูแลและให้บริการสาธารณูปโภคแก่ประชาชนให้ได้อย่างทั่วถึง บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชน รวมทั้งการให้ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จึงต้องมีไฟฟ้าแสงสว่างบริการแก่ประชาชน หากเกิดปัญหาไฟฟ้าสาธารณะดับ ไฟฟ้าส่องสว่างไม่เพียงพอ รวมทั้งไม่มีการติดตั้งให้ทั่วทุกตรอกซอย ผู้ใช้ถนนและทางเดินเท้าในการสัญจรไปมาได้รับความเดือดร้อนและเกิดความไม่ปลอดภัยในการใช้เส้นทางทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้รถใช้ถนนในเวลากลางคืน จึงเป็นหน้าที่ของ กองช่าง องค์การบริหารส่วนตำบลพังงู ในการซ่อมแซมไฟฟ้าสาธารณะ ซึ่งเจ้าหน้าที่รับแจ้งเรื่องการซ่อมแซมแก้ไขไฟฟ้าส่องสว่าง มีการกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนในการรับแจ้งเรื่องการซ่อมแซมแก้ไขไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะ กำหนดขั้นตอนในการแจ้งผลการซ่อมแซมแก้ไขไฟฟ้าซึ่งการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในเรื่องการซ่อมแซมแก้ไขไฟฟ้าแสงสว่าง จะต้องรวดเร็ว ฉับไว เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนในเขตพื้นที่
ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ
1.ประชาชนผู้ใช้เส้นทางคมนาคมสายต่างๆ ในพื้นที่ตำบลพังงู ได้รับความสะดวกในเวลากลางคืน มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินการเกิดอุบัติเหตุลดน้อยลง
2.ผู้ใช้รถใช้ถนนสัญจรไปมาได้อย่างปลอดภัยและคล่องตัว
3.ป้องกันและลดอาชญากรรมให้ประชาชนที่สัญจรและการเดินทางเกิดความปลอดภัย
4.ระยะเวลาในการดำเนินงานที่รวดเร็ว ส่งผลให้เมื่อเกิดปัญหาสามารถแก้ไขและซ่อมบำรุงให้ใช้การได้ตามปกติในเวลาอันรวดเร็ว
การรับแจ้งเหตุ
อบต.พังงู จัดระบบให้ประชาชน สามารถแจ้งเหตุไฟฟ้าสาธารณะขัดข้อง ได้ 4 วิธี คือ
1.แจ้งเหตุผ่านทางโทรศัพท์ เบอร์ 0-4291-0174 ต่อ 20
2.แจ้งเหตุโดยผ่านกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
3.แจ้งผ่านทางเว็ปไซต์ www.pungngoo.go.th
4.แจ้งเหตุโดยการเขียนคำร้องด้วยตนเอง
สรุปขั้นตอนและระยะเวลาการซ่อมแซมไฟฟ้าสาธารณ
1.เจ้าหน้าที่รับหนังสือคำร้องเรียน และส่งเรื่องคำร้องรียนพื่อขออนุมัติซ่อม ภายใน 1 วัน
2.แจ้งหนังสือคำร้องเรียน ให้เจ้าหน้าที่ออกตรวจสอบพื้นที่เพื่อพิจารณาดำเนินการ ระยะเวลาไม่เกิน 2 วัน
3.ดำเนินการซ่อมแซมให้สามารถใช้งานได้ภายในระยะเวลา ไม่เกิน 7 วัน
4.แจ้งผู้ร้องเรียนทราบภายใน 2 วัน นับตั้งแต่วันดำเนินการแก้ไขซ่อมแซมแล้วเสร็จ
กองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
กองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีหน้าที่รับผิดชอบ งานบริหารวิชาการศึกษา งานเทคโนโลยีทางการศึกษา งานจัดการศึกษา งานทดสอบและประเมินตรวจวัดผล งานบริการและบำรุงสถานศึกษา งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก งานกิจการเด็กและเยาวชน งานกีฬาและสันทนาการ ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการศึกษา การส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และประเพณีอันดีงามของประชาชน การสนับสนุนบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ และทรัพย์สินต่างๆ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา จัดสถานที่เพื่อการศึกษา ส่งเสริมทำนุบำรุงรักษา ไว้ซึ่งศิลปะประเพณี ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีท้องถิ่น วัฒนธรรมด้านภาษา การดำเนินชีวิตส่งเสริมสนับสนุนการเล่นกีฬา การส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย แบ่งส่วนราชการภายใน ออกเป็น 3 งาน คือ
งานบริหารการศึกษา มีหน้าที่รับผิดชอบ
- งานบริหารงานบุคคล
- งานบริหารทั่วไป
- งานบริหารการศึกษา
- งานวางแผนและสถิติ
- งานการเงินและบัญชี
งานส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีหน้าที่รับผิดชอบ
- งานกิจการศาสนา
- งานส่งเสริมประเพณี ศิลปะและวัฒนธรรม
- งานกิจการเด็กและเยาวชน
- งานกีฬาและนันทนาการ
งานกิจการโรงเรียน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานจัดการศึกษา
- งานพลศึกษา
- งานทดสอบประเมินผลและตรวจวัดผลโรงเรียน
- งานบริการและบำรุงสถานศึกษา
- งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
กองสวัสดิการสังคม
กองสวัสดิการสังคม มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านสวัสดิการสังคม เกี่ยวกับการสังคมสงเคราะห์ การส่งเสริมสวัสดิการเด็กและเยาวชน การพัฒนาชุมชน การส่งเสริมการกีฬา การจัดให้มีและสนับสนุนกิจกรรมศูนย์เยาวชน การส่งเสริมงานประเพณีท้องถิ่น กิจกรรมทางศาสนา งานห้องสมุด งานสวนสาธารณะ การให้คำปรึกษา แนะนำ หรือตรวจสอบเกี่ยวกับงานสวัสดิการสังคม รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง แบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 3 งาน คือ
งานสวัสดิการและพัฒนาชุมชน มีหน้าที่รับผิดชอบ
มีหน้าที่และความรับผิดชอบด้านสวัสดิการสังคม ด้านสุสานและฌาปนสถาน ด้านพัฒนาชุมชน ด้านจัดระเบียบชุมชน ด้านการ กีฬาและสันทนาการ
งานสังคมสงเคราะห์ มีหน้าที่รับผิดชอบ
มีหน้าที่และความรับผิดชอบด้านสังคมสงเคราะห์ ด้านพิทักษ์สิทธิเด็กและสตรี
งานส่งเสริมอาชีพและพัฒนาสตรี มีหน้าที่รับผิดชอบ
มีหน้าที่และความรับผิดชอบด้านส่งเสริมอาชีพและข้อมูลแรงงาน ด้านพัฒนาสตรีและเยาวชน ด้านสนับสนุนกิจกรรมของเด็กและสตรี ด้านสวนสาธารณะ